ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนมัธยมศึกษาเพศชายมีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมัธยมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียนชายล้วน มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศสูงกว่า นักเรียนมัธยมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียนหญิงล้วนและโรงเรียนสหศึกษา และนักเรียนมัธยมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียน สหศึกษา มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศสูงกว่า นักเรียนมัธยมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียนหญิงล้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีช่องว่างระหว่างวัยกับผู้ปกครองในระดับ มาก ปานกลาง และน้อย มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศไม่แตกต่างกัน
5. นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองในระดับปานกลางมีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศสูงกว่านักเรียนมัธยมศึกษาที่มีสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองในระดับสูงและต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อนในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศไม่แตกต่างกัน
7. นักเรียนมัธยมศึกษาที่รับสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เน็ต มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
8. ปัจจัยทางชีวสังคมร่วมกันทำนายเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย ได้ร้อยละ 37.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
9. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย มี 4 ปัจจัยโดยเรียงลำดับจากตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ระดับชั้น สื่อโทรทัศน์ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย ได้ร้อยละ 36.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนำค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย โดยใช้คะแนนดิบได้แก่
^
Y = 2.20 +.13(GR) + .26(MD4) + .23(FR) - .23(PR)
สมการพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย โดยใช้คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = .40(GR) + .22(MD4) + .24(FR) - .23(PR)
10. ปัจจัยทางชีวสังคมร่วมกันทำนายเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง ได้ร้อยละ 36.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
11. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง มี 3 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ระดับชั้น และโรงเรียนสหศึกษา ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง ได้ร้อยละ 34 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนำค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง โดยใช้คะแนนดิบ ได้แก่
^
Y = 3.23 - .27(PR) +.10(GR) -.27(SC1)
สมการพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง โดยใช้คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = -.34(PR) + .32(GR) - .25(SC1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น